วันพุธที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

เทคโนโลยีในอนาคต

 เทคโนโลยีแห่งอนาคต2020
หากพูดถึงเทคโนโลยีในทุกวันนี้ก็ต้องยอมรับว่ามันเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ ชีวิตเราไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ ฯลฯ คุณเคยจินตนาการถึงวันของคุณในปี 2020ไหม? เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและรูปร่างหน้าตาของอุปกรณ์ต่างๆ ก็เริ่มจะมีเค้าโครงไปสู่โลกอนาคตตามที่คาดการณ์กันไว้แล้ว 
จากวีดีโอด้านล่างนี้ ได้พูดถึงชีวิตประจำวันของเราในอนาคต ในปี 2020 จะมีการรวมเทคโนโลยี ระหว่างเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสาร และเทคโนโลยีการแพร่ภาพกระจายเสียง เป็นการใช้เทคโนโลยี Cloud ร่วมกับทัชสกรีน

ตัวอย่างจากวีดีโอคือ กระจกไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ เป็นระบบดิจิตอล มีประสิทธิภาพสูง มีความทนทาน มันก็คือผ้าม่านอิเล็กทรอนิกส์ของคุณนั่นเอง มันจะทำงานโดยระบบการตั้งเวลาจากจอทีวีกระจก LCD ที่มีขนาดใหญ่และบางพิเศษ ต่อมาคือ Architectural Display Glass เป็นกระจกที่ใช้งานระบบอิเล็กทรอนิคส์ ไวต่อการสัมผัส คุณสามารถเปิดหน้าต่างการสนทนา ข่าว ปฏิทิน ฯลฯ ไปพร้อมๆกันในระหว่างที่คุณกำลังทำธุระส่วนตัวอยู่ได้ ส่วนเครื่องใช้ในครัวหรือเตาแก๊ส เรียกว่า Architectural Surface Glass มีลักษณะทนความร้อน มีหน้าจอแสดงการใช้งาน เป็นเตาแก๊สที่คุณสั่งการโดยระบบสัมผัส ไม่ว่าจะเป็นการเปิดปิด หรือ การเร่งความร้อน  สำหรับการทำงานของคุณก็มี Work Surface Display Glass เป็นพื้นที่ที่คุณสามารถพรีเซ้นงานได้อย่างสะดวกสบาย Electronics Ready Glass ช่วยให้คุณสะดวกสบายในการ Shopping คุณสามารถดูแคตตาล็อคบนจอแก้วขนาดใหญ่เพื่อเลือกซื้อของตามที่คุณต้องการได้ ทันที ซึ่งเทคโนโลยีนี้ในปัจจุบันก็เริ่มมีการคิดค้นออกมาแล้วด้วย
เทคโนโลยีนี้ผู้ใช้สามารถสั่งงานและเข้าถึงได้จากทุกที่ทั่วทุกมุมโลก เพียงแค่จ่ายค่าบริการเหมือนการใช้งานบริการทั่วไป ไฟฟ้า ประปาน้ำมัน โทรศัพท์ ฯลฯ เป็นต้น

วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558

สรุปองค์ความรู้ การจัดการเรียนรู้ วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ.2558


สรุปองค์ความรู้ การจัดการเรียนรู้ วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ.2558

สรุปองค์ความรู้ การจัดการเรียนรู้ วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ.2558

รู้จักกับสื่อ
สื่อ จะมีความหมายตรงกับคำว่า มีเดีย (media) สิ่งที่ติดต่อให้ถึงกันหรือชักนำให้รู้จักกัน  เช่น หนังสือพิมพ์ โลกอินเทอร์เน็ต การสื่อสารผ่านอุปกรณ์กรณ์อิเลกทรอนิค ในการสื่อสารจะมีสื่อเป็นตัวกลางระหว่างผู้ส่งสาร ผู้รับสาร โดยจะมีสื่อเป็นตัวกลางในการส่งสาร ปัจจุบันเราสามารถรับสารผ่านสื่อได้หลายช่องทาง และ รวดเร็วบางครั้งสารที่เราได้รับอาจจะไม่มีมูลเหตุ ดังนั้น เราจึงจะมีวิจารญาณในการรับสื่อเพื่อจะ ‘’รู้เท่าทันสื่อ
รู้เท่าทันสื่อคืออะไร
"รู้เท่าทันสื่อ" คือ ทักษะ หรือความสามารถในการ ใช้สื่ออย่างรู้ตัว และ ใช้สื่ออย่างตื่นตัว คำว่า การใช้สื่ออย่างรู้ตัว สามารถอธิบายหรือขยายความได้ว่า
      สามารถตีความ วิเคราะห์ แยกแยะเนื้อหาสาระของสื่อ
      สามารถโต้ตอบกับมันได้อย่างมีสติและรู้ตัว
       สามารถตั้งคำถามว่าสื่อถูกสร้างขึ้น ที่ไหน อย่างไร เจ้าของ ใครผลิต ควรเชื่อถือหรือไม่


ทำไมถึงต้องรู้เท่าทันสื่อ
1.คนส่วนใหญ่รับสื่อโดยไม่เคยคิดหรือตั้งถาม ว่าสื่ออะไร มีบทบาทอย่างไร
2.สื่อทั้งหลายล้วนแต่ถูกระกอบสร้างขึ้น ซึ่งไม่ได้สะท้อนความจริงของโลกแบบเรียบง่ายตรงไปตรงมา ด้วยเทคนิค กลวิธีบางอย่าง
3.สื่อสร้างภาพความเป็นจริง ซึ่งสื่อสร้างขึ้น ตีความ สรุป และสร้างให้ เราเห็นภาพดังกล่าว ดังนั้นสื่อจึงเป็นแหล่งสร้างภาพความเป็นจริง (ที่อาจไม่จริงเสมอไป) 
4.เราสามารถต่อรองกับสื่อ ซึ่งขึ้นกับความต้องการส่วนตัว ความพึงพอใจตามเชื้อชาติ เพศ วัฒนธรรม จุดยืนทางศีลธรรม และปัจจัยอื่นๆ ที่แต่ละคนอาจเข้าใจ ตีความหมาย หรือมีการโต้ตอบต่อสื่อสารต่างกันไป


5.สื่อมีนัยทางการค้าแอบแฝงอยู่ การผลิตสื่อส่วนหนึ่งเพื่อธุรกิจและกำไร เราจึงควรพิจารณาถึงอิทธิพลทางการค้าที่มีใน
 6.สื่อมีนัยทางอุดมการณ์และค่านิยม สื่อทุกสื่อล้วนนำเสนอวิถีการดำเนินชีวิตและคุณค่า
 7.สื่อมีนัยทางสังคมและการเมือง สื่อมีอิทธิพลสูงมากในทางการเมืองและสารมารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่น โทรทัศน์มีอิทธิพลต่อการเลือกตั้ง การตระหนักถึงสิทธิของพลเมือง
8.รูปแบบและเนื้อหาของสื่อมีความแตกต่างตามแบบฉบับของตัวเอง การใช้สื่อต่างประเภทเพื่อสื่อสารเรื่องเดียวกัน
9.สื่อแต่ละประเภทมีรูปแบบทางสุนทรียภาพเฉพาะตัว การรู้เท่าทันสื่อมิได้หมายความแต่เพียงการดูความหมายของสาร และนัยต่างๆ ที่อยู่ในสังคมและวัฒนธรรมของ
พัฒนาตนเองให้รู้เท่าทันสื่อ
1.การเข้าถึง (Access)
การเข้าถึงสื่อ คือ การได้รับสื่อประเภทต่างๆ ได้อย่างเต็มที่และรวดเร็วสามารถรับรู้และเข้าใจเนื้อหาของสื่อประเภทต่างๆได้อย่างเต็มความสามารถ พร้อมทั้งทำความเข้าใจความหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
2.การวิเคราะห์ (Analyze)
            การวิเคราะห์ คือ การตีความเนื้อหาสื่อตามองค์ประกอบของแต่ละประเภทว่าสิ่งที่สื่อนำเสนอนั้นส่งผลกระทบอะไรบ้าง โดยใช้ความรู้เดิมและประสบการณ์ในการคาดการณ์ถึงผลที่จะเกิดขึ้น โดยอาจใช้วิธีการวิเคราะห์เปรียบเทียบ การแยกองค์ประกอบย่อยต่างๆ
3.การประเมินค่าสื่อ (Evaluate)
            การประเมินค่าของสื่อ เป็นผลจากการวิเคราะห์สื่อที่ผ่านมาทำให้สามารถที่จะประเมินคุณภาพ ของเนื้อหาที่มี คุณค่าต่อผู้รับสารมากน้อยเพียงใด สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้รับสารในด้านใดได้

4.การสร้างสรรค์ (Create)
ความสามารถในการสร้างสรรค์ (หรือสื่อสาร) เนื้อหาโดยการเขียนบรรยายความคิด ใช้คำศัพท์ เสียง หรือการสร้างภาพให้มีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย

รู้เท่าทันสื่อ
            สื่อในปัจจุบันมีมากมายให้เราสามารถรับชมได้ สื่อก็เหมือนกับดาบสองคมมีทั้งดีมีทั้งเสีย  สื่อที่หาได้จากโทรทัศน์หรืออินเทอร์เน็ตจะมีโฆษณาแอบแฝงเพื่อผลประโยชน์ของผู้ประกอบการ เช่น เราเปิดหน้าเวปไซต์ขึ้นมาจะมีโฆษณาอยู่ข้าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโฆษณาเกี่ยวกับการพนัน คลิปหรือภาพโป๊  ดังนั้นเราจำเป็นที่จะต้องใช้สื่อให้เป็นประโยชน์และรู้เท่าทันสื่อเพื่อตัวของเราเอง

ที่มา :  http://bcp.nbtc.go.th/knowledge/detail/308 ------------        http://bcp.nbtc.go.th/knowledge/detail/308     ---------------http://www.familymediawatch.org/index.php 

วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558





                                                  ชิ้นงาน ในวันที่  27  สิงหาคม  พ.ศ.2558

วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปท้ายบทเรียน การจัดการความรู้ วันพฤหัสที่6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สรุปบทเรียน





            ความรู้เป็นสิ่งที่มีคุณค่าสำหรับคนเรามากหากคนเราเลือกใช้ไม่ให้เกิดประโยชน์ก็จะไม่เกิดการเรียนรู้หรือการถ่ายทอดความรู้เกิดขึ้น การจัดการความรู้ของคนเราต้องมีการจัดระบบความรู้ของตัวเอง การจัดการความรู้นั้นเป็นกระบวนที่ซับซ้อนมาก แต่ละบุคคลนั้นมีการจัดการความรู้ที่แตกต่างกัน คนเรามีระดับของความรู้ที่แตกต่างกัน มีการพัฒนาการความรู้ไปแต่ละขั้นจนถึงจุดสูงสุดของตัวเอง


                                         โดย นายรัฐสิทธิ์  ทับทิมเมือง  รหัส 5681135013